ชื่อเต็ม:  ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาไทยและภาษาไทยประยุกต์)
               Master of Arts Program in Thai and Applied Thai

ชื่อย่อ:   ศศ.ม. (ภาษาไทยและภาษาไทยประยุกต์)
               M.A. (Thai and Applied Thai)

ผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางภาษาไทย วรรณคดีไทย และคติชนวิทยา ทั้งในแง่รากฐานและวิชาการประยุกต์อันเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น เพื่อพัฒนาตนเอง เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของภาษาท่ามกลางพลวัตและความเป็นพหุลักษณ์ของสังคมไทยและสังคมโลก

The program aims to produce graduates possessing fundamental knowledge of Thai, Thai literature, and folklore to apply and build new bodies of knowledge in relation to other disciplines for development of themselves under the phenomenon of language changes in social dynamics and multiculturalism of Thai and global society.

รูปแบบของหลักสูตร

  • หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562
  • หลักสูตรปริญญาโท (หลักสูตร 2 ปี)
  • หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ

แผนการศึกษาตามหลักสูตร

  • แผน ก แบบ ก 1 (วิทยานิพนธ์) มีจำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์รวมตลอด หลักสูตร ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
    หมายเหตุ ทำวิทยานิพนธ์เป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ
  • แผน ก แบบ ก 2 (ศึกษารายวิชา และวิทยานิพนธ์) มีจำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต และศึกษารายวิชาอีกไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต
    หมายเหตุ สอนเป็นภาษาไทย และทำวิทยานิพนธ์เป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ
  • แผน ข (สารนิพนธ์) มีจำนวนหน่วยกิตสารนิพนธ์รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต และศึกษารายวิชาอีกไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
แผน ก แบบ ก1

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 และ
  2. ส่งโครงร่างวิทยานิพนธ์ (Research Proposal) ที่สอดคล้องกับสาขาวิชา และ
  3. เป็นผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ
  4. มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับในวงวิชาการนั้นๆ หรือวารสารที่ปรากฏในฐานข้อมูล Scopus/ISI/TCI หรือผ่านการนำเสนอในที่ประชุมทางวิชาการ หรือมีประสบการณ์ในการทําวิจัยมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
  5. คุณสมบัติอื่นนอกเหนือจากข้อ 1-4 ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ

แผน ก แบบ ก2

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือกําลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายของขั้นปริญญาตรี โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50  หรือ
  2. เป็นผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า 1 ปี  และ
  3. คุณสมบัติอื่นให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ

โครงสร้างหลักสูตร

หมวดวิชา แผน ก แบบ ก(1) แผน ก แบบ ก(2) แผน ข
หมวดวิชาบังคับ - 12 12
หมวดวิชาเลือก - 6 18
วิทยานิพนธ์ 36 18 -
สารนิพนธ์ - - 6
รวมไม่น้อยกว่า 36 36 36

 

รายวิชาบังคับ
896-501  ทฤษฎีวรรณคดี 896-502  ภาษาศาสตร์ภาษาไทย 896-503  ทฤษฎีคติชนวิทยา 896-504  ระเบียบวิธีวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
รายวิชาเลือก
กลุ่มรายวิชาวรรณคดี กลุ่มรายวิชาภาษาศาสตร์ภาษาไทย กลุ่มรายวิชาคติชนวิทยา

896-511  พัฒนาการวรรณคดีไทย

896-521  พัฒนาการภาษาไทย

896-531  ตำนานและพิธีกรรม

896-512  วรรณคดีวิจารณ์

896-522  ไวยากรณ์กับการใช้ภาษาไทย

896-532  เพลงพื้นบ้านและนิทานท้องถิ่น

896-513  วรรณคดีไทยกับสื่อสมัยใหม่

896-523  วัจนปฏิบัติศาสตร์ในพื้นที่สาธารณะ

896-533  คติชนถิ่นใต้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

896-514  วรรณคดีท้องถิ่นภาคใต้สมัยใหม่

896-524  ภาษาไทยกับอุดมการณ์เพศสภาพ

896-534  คติชนกับประวัติศาสตร์นิพนธ์ถิ่นใต้

896-515  วรรณคดีไทยและวัฒนธรรมประชานิยม

896-525  วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์

896-535  คติชนถิ่นใต้กับสุขภาวะทางสังคม

896-516  เพศวิถีในวรรณคดีไทย

896-526  ภาษาศาสตร์ภาษาไทยสำหรับการสอนภาษา

896-536  คติชนถิ่นใต้ในเชิงวัฒนธรรมประชานิยม

896-517  สัมมนาวรรณคดีไทย

896-527  สัมมนาภาษาศาสตร์ภาษาไทย  896-537  สัมมนาคติชนวิทยา
หมวดรายวิชาเลือก (บังคับไม่นับหน่วยกิต)
 896-538  สัมมนาบัณฑิตศึกษา 


ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (PLOs)

PLO 1  นักศึกษามีคุณธรรมจริยธรรมทางวิชาการ ไม่ลักลอกผลงานผู้อื่นปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางวิชาการอย่างเคร่งครัด

PLO 2  นักศึกษามีความรู้และเข้าใจทั้งภาษาไทยยุคเก่ารวมถึงภาษาไทยร่วมสมัย จนสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ในด้านภาษาศาสตร์ภาษาไทย วรรณคดีไทย และคติชนวิทยา ไปศึกษาวิจัยได้ เพื่อให้ทันโลกและรักษาเอกลักษณ์ของตนในบริบทพหุลักษณ์ของภาคใต้

PLO 3  นักศึกษาสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิพากษ์วิจารณ์ความรู้ในศาสตร์ภาษาไทยที่สอดคล้องกับการดำรงอยู่และการเปลี่ยนแปลงสำหรับการวิจัยและพัฒนา

PLO 4   นักศึกษารู้หลักทฤษฎีทั้งสามศาสตร์อย่างสัมพันธ์กัน รู้จักคิดอย่างลุ่มลึกและกว้างขวาง ต่อยอดความรู้ที่ตนเองได้ศึกษา

PLO 5  นักศึกษามีความมุ่งมั่น คิดอย่างสมเหตุสมผล มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีทั้งกับเพื่อนร่วมชั้นและผู้สอน รวมทั้งทักษะทางสังคม

PLO 6  นักศึกษาสามารถนำความรู้ทางภาษาไทย โดยเฉพาะการสื่อสารด้วยภาษาที่เหมาะสมกับบริบทและกาลเทศะผ่านผลงานทางวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำเสนอและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อันเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา

1)   นักศึกษาแผน ก แบบ ก 1
       สอบผ่านโครงร่างวิทยานิพนธ์ นำเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือดำเนินการให้ผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมีกรรมการภายนอกร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) ในวารสารที่อยู่ในฐาน TCI ขึ้นไปอย่างน้อย 1 บทความ

2)   นักศึกษาแผน ก แบบ ก 2
       ศึกษารายวิชาครบตามที่กำหนดในหลักสูตร ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.00 สอบผ่านโครงร่างวิทยานิพนธ์ นำเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และ
       2.1) ผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือดำเนินการให้ผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมีกรรมการภายนอกร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) ในวารสารที่อยู่ในฐาน TCI ขึ้นไปอย่างน้อย 1 บทความ หรือ
       2.2) ดำเนินการให้ผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในรายงานการประชุม (Proceedings) ที่มีกรรมการภายนอกร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) อย่างน้อย 1 บทความ (Full Paper)

3)   นักศึกษาแผน ข
       ศึกษารายวิชาครบตามที่กำหนดในหลักสูตร ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.00 สอบผ่านสารนิพนธ์ และสอบผ่านการสอบประมวลความรอบรู้ (Comprehensive Examination)ด้วยข้อเขียนและ/หรือ ปากเปล่าในสาขาวิชานั้น และตีพิมพ์ในรายงานการประชุม (Proceedings) อย่างน้อย 1 บทความ (Full Paper)

 

  เว็บไซต์งานบัณฑิตศึกษา คณะศิลปศาสตร์ (ประกาศ คำสั่ง แนวปฏิบัติ ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร)

 

FLA-PSU Edu LIVE Streaming

ป.โท สาขาวิชาภาษาไทยและภาษาไทยประยุกต์ คลิกเพื่อรับชม

FLA-PSU Edu LIVE Streaming

ป.โท สาขาวิชาภาษาไทยและภาษาไทยประยุกต์ คลิกเพื่อรับชม

 ข้อมูล update: 28 เมษายน 2565

 

นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน คุณสามารถศึกษารายละเอียด นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ที่ Cookies Policy