ชื่อเต็ม:  ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พัฒนามนุษย์และสังคม)
               Doctor of Philosophy in Human And Social Development

ชื่อย่อ:   ปร.ด. (พัฒนามนุษย์และสังคม)
               Ph.D. (Human And Social Development)

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563

มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีคุณธรรม ความรู้ความเข้าใจมนุษย์และสังคมแบบองค์รวม ความเชี่ยวชาญในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ภายใต้บริบทสังคมพหุวัฒนธรรมภาคใต้ด้วยกระบวนการวิจัย สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมทั้งระดับชาติและระดับสากล

The programs strive to produce graduates who have ethics, holistic knowledge and understanding of human and society and competency in searching knowledge with a research process to apply and build new bodies of knowledge for development of themselves, national and international society.

โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิจรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

หมวดวิชา

แบบ 1.1

แบบ 2.1

หมวดรายวิชาบังคับ

-

6

หมวดรายวิชาเลือก

-

6

หมวดรายวิชาวิทยานิพนธ์

48

36

รวมไม่น้อยกว่า

48

48


รูปแบบของหลักสูตร
หลักสูตรปริญญาเอก (หลักสูตร 3 ปี)

แผนการศึกษาตามหลักสูตร

แบบ 1.1
เป็นแผนการศึกษาสำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่เน้นการทำวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว

แบบ 2.1
เป็นแผนการศึกษาสำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่เน้นการทำวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์และศึกษารายวิชา

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLOs)

PLO 1  เป็นแบบอย่างในการมีจรรยาบรรณทางวิชาชีพและจริยธรรมในการสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อการพัฒนามนุษย์และสังคม และส่งเสริมผู้อื่นให้มีการประพฤติปฏิบัติตามหลักคุณธรรมจริยธรรมบนพื้นฐานสังคมพหุวัฒนธรรมในภาคใต้

PLO 2  อธิบายองค์ความรู้เชิงวิเคราะห์และสังเคราะห์ ด้านแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนามนุษย์และสังคมแบบองค์รวม เพื่อสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมทางสังคม บนพื้นฐานสังคมพหุวัฒนธรรมในภาคใต้

PLO 3  อธิบายองค์ความรู้เชิงวิเคราะห์และสังเคราะห์ ด้านหลักการทฤษฎีด้านการวิจัย เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมทางสังคม สำหรับการแก้ปัญหาองค์กร ชุมชน และสังคมบนพื้นฐานพหุวัฒนธรรมในภาคใต้

PLO 4  วางแผนและออกแบบการวิจัยเพื่อสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ ที่นำไปสู่การพัฒนามนุษย์และสังคมบนพื้นฐานสังคมพหุวัฒนธรรมในภาคใต้

PLO 5  บูรณาการแนวคิดและทฤษฎีอย่างรอบด้าน เพื่อคิดวิเคราะห์ปรากฎการณ์ และแก้ปัญหาสถานการณ์ใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์

PLO 6  แสดงความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีจิตอาสา เสริมสร้างชุมชนสัมพันธ์  และปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่ซับซ้อนในการทำงานด้านพัฒนามนุษย์และสังคม

PLO 7  ร่วมทำงานเป็นทีม มีภาวะผู้นำทางวิชาการหรือทางวิชาชีพตามโอกาสและสถานการณ์  และชี้นำสังคมอย่างสร้างสรรค์

PLO 8  วิเคราะห์และจำแนกข้อมูลทางสถิติขั้นสูงไปใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาประเด็นปัญหาที่สำคัญและซับซ้อน

PLO 9  นำเสนอและเผยแพร่ผลงานในระดับชาติและระดับสากลเกี่ยวกับการพัฒนามนุษย์และสังคม ด้วยภาษาเชิงวิชาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา (ปีการศึกษา 2564)

แบบ 1.1
1. เป็นผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านสังคมศาสตร์ หรือสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.50 หรือ
2. กรณีมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ถึง 3.50
    2.1 มีบทความวิจัยที่นอกเหนือจากเกณฑ์ขั้นต่ำในการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท โดยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับในวงวิชาการนั้น ๆ ในระดับชาติหรือนานาชาติที่ สกอ. รับรอง หรือผ่านการนําเสนอในที่ประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ (Full Paper) อย่างน้อย 2 บทความ หรือ
    2.2  มีประสบการณ์ในการทําโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนามนุษย์และสังคม หรือเป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 2 ปี และ
3. มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก

แบบ 2.1
1. เป็นผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านสังคมศาสตร์ หรือสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.25 หรือ
2. กรณีมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ถึง 3.25 ต้องมีประสบการณ์ในการทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 2 ปี และ
3. มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 1.1 แบบ 2.1
895-619 สัมมนาเพื่อการเรียนรู้เชิงบูรณาการ* 895-601 การพัฒนามนุษย์และสังคมแบบองค์รวม
895-620 ปฏิบัติการวิจัยทางพัฒนามนุษย์และสังคม 1* 895-602 ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนามนุษย์และสังคม
895-621 ปฏิบัติการวิจัยทางพัฒนามนุษย์และสังคม 2* 895-603 วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ขั้นสูง
895-622 สัมมนาการพัฒนามนุษย์และสังคม 1* 895-619 การเรียนรู้เชิงบูรณาการ*
895-623 สัมมนาการพัฒนามนุษย์และสังคม 2* 895-620 ปฏิบัติการวิจัยทางพัฒนามนุษย์และสังคม 1*
895-631 วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต 895-621 ปฏิบัติการวิจัยทางพัฒนามนุษย์และสังคม 2*
  895-622 สัมมนาการพัฒนามนุษย์และสังคม 1*
  895-623 สัมมนาการพัฒนามนุษย์และสังคม 2*
  895-XXX ชุดวิชาเลือกไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
  895-632 วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต

หมายเหตุ * ไม่นับหน่วยกิต และต้องผ่านการประเมินจากผู้สอน

กลุ่มรายวิชาเลือกแบบ 2.1 (เลือกไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต)

895-611      การเรียนรู้กับการพัฒนามนุษย์และสังคม
895-612      นวัตกรรมภาวะผู้นำ และการพัฒนาทุนมนุษย์
895-613      การประเมินผลโครงการเพื่อพัฒนามนุษย์และสังคม
895-614      ยุทธศาสตร์และการวางแผนการพัฒนามนุษย์และสังคม
895-615      การพัฒนาสังคมชายแดนใต้
895-616      การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนามนุษย์และสังคม
895-617      ปฏิบัติการวิจัยทางสังคมศาสตร์ขั้นสูง
895-618      การจัดการวัฒนธรรมในพหุสังคม
895-625      
ชุดวิชา การวิจัยพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้
895-626      
ชุดวิชา การวิจัยเชิงประเมินเพื่อการพัฒนา
895-627      
ชุดวิชา ภาวะผู้นำเพื่อการพัฒนาชายแดนใต้

ทิศทางหรือ Theme ของงานวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ และงานวิจัยของอาจารย์ประจำหลักสูตร

  • การพัฒนามนุษย์และสังคมในศตวรรษที่ 21
  • ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงานในภาคราชการและเอกชน
  • ชุมชนกับการปรับตัวเพื่อความเข้มแข็งและการดำรงอยู่
  • กระบวนการสร้างและพัฒนาชุมชนให้เป็นเครือข่ายที่ยั่งยืน
  • ความหลากหลายของชาติพันธุ์ ศาสนา การศึกษา และวัฒนธรรมกับการพัฒนามนุษย์และสังคม
  • ภาษา วรรณกรรม ศิลปะ และดนตรี กับการพัฒนามนุษย์และสังคม
  • ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น กับการพัฒนามนุษย์และสังคม
  • การท่องเที่ยวกับการพัฒนามนุษย์และสังคม
  • จิตวิทยากับการพัฒนามนุษย์และสังคม
  • อื่น ๆ

 

 เว็บไซต์งานบัณฑิตศึกษา คณะศิลปศาสตร์ (ประกาศ คำสั่ง แนวปฏิบัติ ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร)

 

FLA-PSU Edu LIVE Streaming

ป.โท-เอก สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม คลิกเพื่อรับชม

FLA-PSU Edu LIVE Streaming

ป.โท-เอก สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม คลิกเพื่อรับชม

ข้อมูล update: 25 มิถุนายน 2564

นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน คุณสามารถศึกษารายละเอียด นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ที่ Cookies Policy